Close
103 ถ.นนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120
จ - ศ : 09:00 - 17:00

ควรประนอมหนี้ยังไง ?

เมื่อเกิดวิกฤต ผ่อนสินเชื่อไม่ไหวทำยังไงดี ? ควรประนอมหนี้ยังไง ?

ในปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจนั้นผันผวนอยู่ตลอด อาจทำให้หลายๆคนเจอวิกฤต เจอปัญหาที่ไม่สามารถผ่อนสินเชื่อที่มีอยู่ได้ไหว และอาจจะกลายเป็นปัญหาลุกลามใหญ่ที่ทำให้ถูกฟ้องร้อง และสูญเสียทรัพย์สินไปได้

ทรัพย์สินรอการขาย (NPA) นั้นดียังไง ?

ถ้าคุณกำลังเจอปัญหาอยู่อย่างก็อย่าเพิ่งวิตกไป สื่งที่ควรทำคือการไปเจราจากับสถาบันทางการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ เพื่อประนอมหนี้ ซึ่งก็มีหลายวิธีที่จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้

  • ขอผ่อนผันชำระยอดหนี้ค้างชำระ
  • กรณีนี้ลูกหนี้อาจขอผ่อนชำระคืนยอดหนี้ที่ค้างได้นานสูงสุด 36 เดือนติดต่อกัน โดยสามารถขอเฉลี่ยหนี้ค้างชำระทั้งหมดออกเป็นงวด ๆ งวดละเท่ากันและผ่อนชำระคืนติดต่อกันทุกเดือน , ขอชำระหนี้ที่ค้างทั้งหมดในเวลาที่ตกลง หรือ ขอชำระหนี้ที่ค้างเป็นเงินก้อนแบ่งเป็นงวดๆตามเวลาที่ตกลง

  • ขอขยายเวลาชำระหนี้
  • วิธีนี้ลูกหนี้สามารถขอขยายเวลากู้เงินต่อไปได้ถึง 30 ปีนับจากปัจจุบันเพื่อลดเงินงวดให้น้อยลง

  • ขอกู้เพิ่มเพื่อชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระ
  • เป็นกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดได้ ลูกหนี้สามารถขอกู้เพิ่มเพื่อชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระพร้อมกับขยายเวลากู้เงินได้

  • ขอชำระแต่ดอกเบี้ยประจำเดือน
  • ในบางช่วงเวลาลูกหนี้อาจขอผ่อนชำระแต่ดอกเบี้ยประจำเดือนได้ ปกติเงื่อนไขแบบนี้จะให้เฉพาะกับลูกหนี้ที่มีประวัติการส่งชำระคืนที่ดีเท่านั้น

  • ขอชำระต่ำกว่าเงินงวดปกติ
  • เงื่อนไขการผ่อนผันแบบนี้มักกำหนดให้จำนวนเงินที่ชำระต่ำกว่าเงินงวดปกตินั้น ต้องมากกว่าดอกเบี้ยประจำเดือนอย่างน้อย 500 บาทระยะเวลาผ่อนชำระได้นานสูงสุดไม่เกิน 2 ปี และขอดำเนินการได้ครั้งเดียว

  • ขอลดอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ
  • เป็นการขอผ่อนผันในกรณีที่ลูกหนี้ถูกปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจากอัตราปกติ ลูกหนี้สามารถแจ้งขอลดอัตราดอกเบี้ยในวันที่ชำระเงินได้

  • ขอโอนบ้านให้กับสถาบันการเงินเป็นการชั่วคราว
  • ในกรณีลูกหนี้สามารถซื้อคืนภายหลัง ปกติสถาบันการเงินจะรับโอนหลักประกันโดยหักลบกลบหนี้ในจำนวนไม่เกิน 90 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าหลักประกัน หากมีหนี้ส่วนเกินลูกหนี้จะต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันโอน

  • ขอให้ชะลอการขายทอดตลาด
  • กรณีที่ลูกหนี้ที่ถูกสถาบันการเงินยึดทรัพย์แล้วรอการขายทอดตลาด อาจเจรจาขอให้ชะลอการขายไว้ก่อนโดยลูกหนี้จะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ค่าใช้จ่ายต่างๆในชั้นฟ้องคดีและบังคับคดีอย่างครบถ้วน และชำระหนี้ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 งวด โดยหนี้ที่เหลือต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินหลักประกันใหม่ แล้วให้ลูกหนี้ทำสัญญากู้ใหม่

  • ขอชะลอการยึดทรัพย์
  • ลูกหนี้อาจขอให้ชะลอการยึดทรัพย์ได้ โดยจะต้องชำระหนี้ทั้งหมดและไถ่ถอนจำนองภายในเวลาไม่เกิน 3 เดือน

  • ขอเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามสัญญากู้ใหม่ กู้เพิ่ม หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญา
  • โดยลูกหนี้ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ค่าใช้จ่ายต่างๆในชั้นฟ้องคดีและชั้นบังคับคดีให้หมดเสียก่อน จากนั้นปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สถาบันการเงินกำหนด

เห็นไหมว่ามีหลากวิธีที่สามารถให้เราพ้นวิกฤตไปได้ อย่าวิตก อย่าหนีปล่อยให้เป็นหนี้เสีย จะทำให้คุณเสียประวัติทางการเงิน ตั้งสติให้ดี สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณต้องเข้าไปเจรจา ชี้แจงปัญหากับเจ้าหนี้ แล้วศึกษารายละเอียด เลือกเงื่อนไขที่เหมาะกับตนเองให้มากที่สุด ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาหรือผ่อนหนักให้เป็นเบาได้

หรือถ้าคุณต้องการที่ปรึกษา เรา J.E.D.I. Asset Management พร้อมให้คำปรึกษาคุณ ด้วยความเข้าใจ ด้วยประสบการณ์จากมืออาชีพของเรา อย่าปล่อยให้ปัญหาของคุณเป็นปัญหาเรื้อรังที่จะยากเกินแก้ไข เรายินดีให้บริการ ให้คำปรึกษาที่จะช่วยแก้ปัญหาพร้อมกับคุณ
สนใจติดต่อ

บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ. อี. ดี. ไอ. (กรุงเทพ) จำกัด
โทร. 02-165-0650